AIS 4G Board คือบอร์ดพัฒนาที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน 4G มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-WROOM-32 และโมดูลสื่อสาร SIM7600E-H1C รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน GPIO ทั้ง ESP32 และ SIM7600 นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อแบบ I2C/RS485/SPI/I2S/UART
ไลบรารีสำหรับ AIS 4G Board ใช้กับโปรแกรม Arduino IDE รองรับการเชื่อมต่อ MQTT, HTTP, Azure IoT Hub, Azure IoT Central มาพร้อมคำสั่งอ่านพิกัดจาก GPS (บนโมดูล SIM7600), อ่านค่าอุณหภูมิ/ความชื้นจากเซ็นเซอร์บนบอร์ด, ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่าน RS485/ModbusRTU, บันทึกและเปิดไฟล์จาก MicroSD Card เป็นต้น
- รู้จัก AIS 4G Board
- การเริ่มต้นใช้งาน
- การส่งข้อมูลขึ้น Azure IoT Central
- การส่งข้อมูลขึ้น Magellan Platform
- คำสั่งที่มีให้ใช้งาน
- ศึกษาเพิ่มเติม
AIS 4G Board เป็นบอร์ดที่รวมไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-WROOM-32 (โมดูล WiFi/Bluetooth) เข้ากับ SIM7600E-H1C (โมดูล 4G) รองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อทำงานด้าน IoT ครบทุกรูปแบบการเชื่อมต่อ ทั้งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 4G, WiFi และ Bluetooth รองรับการอ่านค่าตำแหน่งปัจจุบันจาก GPS มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นบนบอร์ด มีปุ่มโปรแกรมได้อิสระ 1 ปุ่ม มีหลอดแอลอีดีโปรแกรมได้อิสระ 1 ดวง มีช่องเสียบ MicroSD Card มีช่องต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน RS485, I2C, SPI, UART, I2S
- เสียบสาย USB Type-C เข้ากับ AIS 4G Board ฝั่ง ESP32 ปลายอีกด้านเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์
- ดาวน์โหลดไดร์เวอร์ FT231X จาก VCP Drivers และติดตั้งตามขั้นตอน Installation Guides
- ดาวน์โหลดโปรแกรม Arduino IDE V1.xx.xx จาก Software | Arduino แล้วติดตั้งโปรแกรมตามขั้นตอน Install the Arduino Software (IDE) on Windows PCs
- เปิดโปรแกรม Arduino IDE ขึ้นมา แล้วติดตั้งแพ็กเกจบอร์ด ESP32 เพิ่ม โดยทำตามขั้นตอน Installing - Arduino-ESP32
- ติดตั้งไลบรารี่
AIS 4G Board
ผ่าน Library Manager (อ่านเพิ่มเติม Installing Additional Arduino Libraries) - เลือกบอร์ดเป็น ESP32 Dev Module แล้วเลือกพอร์ตเป็น COM port ที่ใช้
- เปิดโปรแกรมตัวอย่าง Read_IMEI เพื่อทดสอบอ่านหมายเลข IMEI ของโมดูล 4G (ทดสอบการอัพโหลดโปรแกรม-ทดสอบการทำงานของโมดูล 4G)
- อัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ด แล้วเปิด Serial Monitor ขึ้นมา ปรับ baud rate เป็น 115200 จากนั้นให้กดปุ่ม RESET แล้วดูผลลัพธ์ที่ได้ จะต้องแสดงหมายเลข IMEI ออกมา
- ติดตั้งไลบรารี AIS IoT 4G ตามหัวข้อ การเริ่มต้นใช้งาน
- ใช้ตัวอย่าง IoT_Central_sample ในการทดสอบส่งข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์บนบอร์ด ขึ้น Azure IoT Central
- สมัครสมาชิก https://portal.azure.com/ กดปุ่ม Start free แล้วสมัครสมาชิกพร้อมตั้งค่ารูปแบบการชำระเงินให้เรียบร้อย (ใช้งานครั้งแรกได้เครดิทฟรี $200 เป็นเวลา 7 วัน)
- เข้าไปที่ https://apps.azureiotcentral.com/myapps กดสร้าง Custom app ตั้งชื้อ พร้อมตั้งค่าการชำระเงินให้เรียบร้อย
- เข้าไปที่ Device templates กดปุ่ม New แล้วดูตรง Create a custom device template ให้กดเลือก IoT Device ตั้งชื่อ แล้วดำเนินขั้นตอนจนจบ
- เข้าไปที่ Device template ที่สร้างขึ้น สร้าง/ตั้งค่า Modal ดังนี้
Display name | Name | Capability type | Semantic type |
---|---|---|---|
temperature | temperature | Telemetry | Temperature |
humidity | humidity | Telemetry | Relative humidity |
light | light | Command |
- ของ light (ที่เป็น Command) ให้กดเปิดรายละเอียดขึ้นมา แล้ว
- กดเปิดใช้ Request
- Display name กำหนดเป็น Level
- Name กำหนดเป็น level
- Schema กำหนดเป็น Integer
- แล้วกดปุ่ม Save ให้เรียบร้อย
- กดที่เมนู Views แล้วกดเลือก Generate default views
- ตั้งค่าหน้า Dashboard ย้ายตำแหน่งกราฟ-กล่องข้อความ เปลี่ยนชื่อได้ตามต้องการ แล้วกด Save
- กด Back กลับมาหน้าจัดการ Device template กดปุ่ม Publish เพื่อให้นำ template ไปใช้ตอนสร้าง Device ได้
- เข้าไปที่เมนู Devices กดปุ่ม New
- ตั้งชื่ออุปกรณ์ตรง Device name แล้วเลือก Device template เป็นชื่อ template ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้
- กดปุ่ม Create
- ใน Azure ที่หน้าอุปกรณ์ ให้กดปุ่ม Connect ด้านบนมุมซ้าย
- คัดลอก ID scope, Device ID, Primary key ไปใส่ในโค้ดโปรแกรมตัวอย่าง IoT_Central_sample
- อัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ด
- เปิด Serial Monitor ขึ้นมา ในหน้าต่าง Serial Monitor จะแจ้งสถานะการเชื่อมต่อกับ Azure IoT Central เป็นระยะ ๆ
- เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ ค่าอุณหภูมิและความชื้นจะส่งขึ้น Azure IoT Central ทุก ๆ 3 วินาที
- ใน Azure ที่หน้าอุปกรณ์ จะแสดงสถานะอุปกรณ์เป็น Connected ให้กดที่แถบ View เพื่อดูค่าในรูปแบบกราฟ
- กดดูข้อมูลแบบละเอียดได้ในแถบ Raw data
- สั่งเปิด-ปิด หลอด LED E15 บนบอร์ดได้โดยกดแถบ Command ตรง Level ให้ใส่ 1 หากต้องการให้ไฟติด และใส่ 0 หากต้องการให้ไฟดับ แล้วกดปุ่ม Run
- สังเกตว่าใน Serial Monitor จะแสดงผลข้อความแจ้งได้รับ Command ใหม่เข้ามา พร้อมหลอด LED E15 ติด-ดับ ตามคำสั่งที่ส่งเข้ามา
- ติดตั้งไลบรารี AIS IoT 4G ตามหัวข้อ การเริ่มต้นใช้งาน
- ใช้ตัวอย่าง reportSensorJSON ในการทดสอบส่งข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์บนบอร์ด ขึ้น Magellan Platform
- เข้าไปที่ https://magellan.ais.co.th/ กด REGISTER เพื่อสมัครสมาชิก หากไม่มี Account ของ AIS Playground ให้กดเลือก Register กรอกข้อมูลแล้วกด ปุ่ม Done จากนั้นรอ Email ยืนยัน
- เมื่อได้รับ Email ยืนยันเรียบร้อยแล้ว สามารถ Login ใช้งาน Magellan Platform ได้ผ่าน Email ที่สมัครไว้
- กดที่แถบ menu ซ้ายมือเลือก MY THINGS กดปุ่ม RESIGTER THING กรอก ICCID และ IMSI ตั้งชื่อ Thing กดปุ่ม SAVE
- กดที่แถบ menu ซ้ายมือเลือก ALL PROJECT กดเลือกที่ MY PROJECT กดปุ่ม CREATE NEW PROJECT แล้วตั้งชื่อ กดปุ่ม CREATE
- กดเลือกโปรเจคที่สร้าง กดเลือกที่แถบ THING และกดปุ่ม ADD THING แล้วเลือก Device ที่ลงทะเบียนไว้โดยกดปุ่ม ADD TO PROJECT
- กดเลือกที่กล่อง Thing กดปุ่ม EDIT THING ให้กดเลือก Heartbeat กำหนดเวลาที่ต้องการให้แสดงหาก Device ขาดการเชื่อมต่อในที่นี้ยกตัวอย่างเป็น 20 วินาที และกดปุ่ม SAVE
- ไปที่โค้ดตัวอย่าง reportSensorJSON
- อัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ด
- เปิด Serial Monitor ขึ้นมา ในหน้าต่าง Serial Monitor จะแจ้งสถานะการเชื่อมต่อกับ Magellan Platform
- เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ ค่าอุณหภูมิและความชื้นจะส่งขึ้น Magellan Platfrom ทุก ๆ 10 วินาที
- ใน Magellan Platform ที่หน้าอุปกรณ์ จะแสดงสถานะอุปกรณ์เป็น Connected
- กดดูข้อมูลแบบละเอียดได้ในแถบ Data History
- สังเกตว่าใน Serial Monitor จะแสดงผลข้อความแจ้งค่าอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์บนบอร์ดตามคำสั่งที่กำหนด
ใช้สั่งงานโมดูล SIM7600 บนบอร์ดเบื้องต้น มีคำสั่งดังนี้
GSM.begin()
สั่งให้โมดูล SIM7600 เริ่มทำงานGSM.shutdown()
สั่งให้โมดูล SIM7600 หยุดทำงานGSM.lowPowerMode()
สั่งให้โมดูล SIM7600 เข้าโหมดประหยัดพลังงาน (โหมดเครื่องบิน)GSM.noLowPowerMode()
สั่งให้โมดูล SIM7600 ออกจากโหมดประหยัดพลังงานGSM.getIMEI()
อ่านหมายเลข IMEI ของโมดูลGSM.getIMSI()
อ่านหมายเลข IMSIGSM.pinMode()
กำหนดโหมด INPUT/OUTPUT ของขา S3 ถึง S77GSM.digitalWrite()
กำหนดเขียนสถานะลอจิก HIGH / LOW ไปที่ขา S3 ถึง S77GSM.digitalRead()
อ่านสถานะลอจิก HIGH / LOW จากขา S3 ถึง S77
คำสั่งเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่าย 4G มีดังนี้
Network.getCurrentCarrier()
อ่านชื่อเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่Network.getSignalStrength()
อ่านความแรงของสัญญาณ 4GNetwork.getDeviceIP()
อ่านหมายเลข IP ของอุปกรณ์Network.pingIP()
ใช้ Ping ไปที่ Host ใด ๆ เพื่อทดสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
(สืบทอดคลาส Client) ใช้เชื่อมต่อ TCP ผ่านเครือข่าย 4G มีคำสั่งดังนี้
GSMClient client
สร้าง Socket ของ TCP และสร้างออปเจค clientclient.connect()
สั่งเชื่อมต่อไปที่ TCP Serverclient.connected()
ตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อ TCP Serverclient.write()
ส่งข้อมูลไปที่ TCP Serverclient.available()
ตรวจสอบจำนวนข้อมูลที่ TCP Server ส่งมาclient.read()
อ่านข้อมูลที่ TCP Server ส่งมาclient.stop()
ตัดการเชื่อมต่อกับ TCP Server
(สืบทอดคลาส Client) ใช้เชื่อมต่อ TCP ผ่าน TLS ผ่านเครือข่าย 4G มีคำสั่งเหมือนกับ GSMClient.h
แต่มีคำสั่งเพิ่มขึ้นมาดังนี้
client.setInsecure()
ปิดการตรวจสอบใบรับรอง (CA) ของ TCP/TLS Serverclient.setCACert()
ตั้งค่าใบรับรองของ TCP/TLS Server
(สืบทอดคลาส Client) ใช้เชื่อมต่อ UDP ผ่านเครือข่าย 4G มีคำสั่งดังนี้
GSMUdp udp
จองใช้ Socket และสร้างออปเจค udpudp.begin()
เริ่มต้นใช้งาน UDP และกำหนด Local Portudp.beginPacket()
สร้าง Data Packet ใหม่ พร้อมสร้างบัฟเฟอร์ใช้เก็บข้อมูลเพื่อส่งudp.write()
เขียนข้อมูลที่ต้องการส่งลงบัฟเฟอร์udp.endPacket()
ใช้บอกจบ Packet และส่งข้อมูล UDP ในบัฟเฟอร์ไปยัง Serverudp.parsePacket()
ตรวจสอบว่ามี Data Packet ใหม่เข้ามาหรือไม่udp.available()
ตรวจสอบจำนวนข้อมูลที่ยังไม่ได้อ่านudp.read()
อ่านข้อมูลใน Data Packetudp.stop()
ยกเลิกการใช้งาน UDP
ใช้อ่านค่าพิกัด เวลา ความเร็ว จาก GNSS (GPS) มีคำสั่งดังนี้
GPS.begin()
เริ่มต้นใช้งาน GNSSGPS.available()
ตรวจสอบสถานะการจับสัญญาณ GNSS (จับสัญญาณได้แล้ว/ยังจับสัญญาณไม่ได้)GPS.latitude()
อ่านค่าละติจูดGPS.longitude()
อ่านค่าลองจิจูดGPS.speed()
อ่านค่าความเร็วGPS.course()
GPS.altitude()
อ่านค่าความสูงGPS.getTime()
อ่านค่าเวลา Timestamp หน่วยวินาที (GMT+0)GPS.standby()
ปิดใช้ GNSSGPS.wakeup()
เปิดใช้งาน GNSS
ใช้อ่าน-เขียนไฟล์ใน SIM7600 และใน MicroSD Card
Storage.fileWrite()
ใช้เขียนไฟล์Storage.fileRead()
ใช้อ่านไฟล์
remark: มี 2 ไดร์ให้สามารถอ่านเขียนไฟล์ได้ คือ C:
เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลภายใน SIM7600 และ D:
เป็นพื้นที่ใน MicroSD Card
ใช้อ่านค่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นบนบอร์ด AIS 4G Board
SHT40.begin()
เริ่มต้นใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นSHT40.readTemperature()
อ่านค่าอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสSHT40.readHumidity()
อ่านค่าความชื้นในหน่วย %RH
remark: ก่อนเรียกใช้คำสั่ง SHT40.begin()
ต้องเรียกใช้ Wire.begin()
ก่อนเสมอ
ใช้รับ-ส่งข้อมูลผ่านช่อง RS485 พร้อมคำสั่งอ่านค่าผ่านโปรโตคอล MODBUS RTU มีคำสั่งพื้นฐาน RS485.begin()
RS485.write()
RS485.available()
RS485.read()
เหมือน Serial ปกติ แต่มีคำสั่งเพิ่มขึ้นมาดังนี้
RS485.beginTransmission()
คำสั่งเริ่มต้นส่งข้อมูลผ่าน RS485 (จองใช้บัส RS485)RS485.endTransmission()
คำสั่งจบการส่งข้อมูลผ่าน RS485 (คืนบัส RS485 ให้อุปกรณ์อื่นใช้บัสต่อ)RS485.receive()
สั่งเข้าโหมดรับข้อมูลRS485.noReceive()
สั่งออกจากโหมดรับข้อมูล (เข้าโหมดส่งข้อมูล)RS485.coilRead()
ส่งคำสั่ง Coil Read (Function Code 1) อ่านค่าหน้าสัมผัสจากอุปกรณ์ MODBUSRS485.discreteInputRead()
ส่งคำสั่ง Read Discrete Inputs (Function Code 2) อ่านค่าหน้าสัมผัสจากอุปกรณ์ MODBUSRS485.holdingRegisterRead()
ส่งคำสั่ง Read Holding Registers (Function Code 3) อ่านค่าจาก Holding Register ในอุปกรณ์ MODBUSRS485.inputRegisterRead()
ส่งคำสั่ง Read Input Registers (Function Code 4) อ่านค่าจาก Input Register ในอุปกรณ์ MODBUSRS485.coilWrite()
ส่งคำสั่ง Coil Write (Function Code 5) สั่งให้รีเลย์/หน้าสัมผัส ของอุปกรณ์ MODBUS เปิด-ปิด
remark: ก่อนส่งข้อมูลด้วย RS485.write()
RS485.print()
RS485.println()
ต้องเรียกใช้คำสั่ง RS485.beginTransmission()
ก่อนเสมอ และเมื่อส่งข้อมูลครบแล้ว ต้องเรียกใช้คำสั่ง RS485.endTransmission()
ด้วย
ใช้เชื่อมต่อ รับ-ส่งข้อมูลกับ Azure IoT Hub
AzureIoTHub iot;
เริ่มต้นใช้งานไลบรารี Azure IoT Hub สร้างออปเจค iotiot.configs()
ตั้งค่าการเชื่อมต่อ Azure IoT Hubiot.connect()
สั่งให้เชื่อมต่อไปที่ Azure IoT Hubiot.isConnected()
ตรวจสอบการเชื่อมต่อกับ Azure IoT Hubiot.setTelemetryValue()
กำหนดค่าให้ Telemetry ที่ต้องการส่งขึ้น Azure IoT Hubiot.sendMessage()
ส่ง Telemetry ขึ้น Azure IoT Hubiot.addCommandHandle()
ใช้เพิ่มฟังก์ชั่นรับข้อมูลจาก Command ที่ส่งมาจาก Azure IoT Hubiot.loop()
remark: คำสั่ง iot.loop()
จำเป็นต้องถูกเรียกใช้ให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากเรียกใช้งานไม่บ่อย จะไม่สามารถรับข้อมูล (Command) จาก Azure IoT Hub ได้ และจะถูกตัดการเชื่อมต่อจาก Azure IoT Hub เป็นระยะ ๆ
ใช้เชื่อมต่อ รับ-ส่งข้อมูลกับ Azure IoT Central มีคำสั่งเหมือนกับ AzureIoTHub.h
ทุกประการ ยกเว้นตอนสร้างออปเจค ให้สร้างโดยใช้คำสั่ง AzureIoTCentral iot;
แทน
ใช้เชื่อมต่อ รับ-ส่งข้อมูลกับ Magellan Platform ด้วยโปรโตคอล MQTT (Message Queuing Telemetry Transport)
-
MAGELLAN_SIM7600E_MQTT magel;
เริ่มต้นใช้งานไลบรารี Magellan Platform สร้างออปเจค magel -
Begin
magel.begin()
เริ่มต้นใช้งาน AIS 4G Baoard และตั้งค่าการเชื่อมต่อ Magellan Platformmagel.centric.begin()
เริ่มต้นใช้งาน AIS 4G Baoard และตั้งค่าการเชื่อมต่อ Magellan Platform โดยมีการตรวจสอบการลงทะเบียนของอุปกรณ์ผ่านตัวกลาง
-
Loop
magel.loop()
ใช้ทำให้คำสั่งต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการเชื่อมต่อกับ Magellan Platform จำเป็นต้องถูกเรียกใช้
-
Info
magel.Info.getBoardInfo()
ใช้อ่านหมายเลข ICCID, IMSI และ IMEI ของโมดูลmagel.Info.getICCID()
ใช้อ่านหมายเลข ICCIDmagel.Info.getIMSI()
ใช้อ่านหมายเลข IMSImagel.Info.getIMEI()
ใช้อ่านหมายเลข IMEImagel.Info.getThingToken()
ใช้อ่าน Thing Tokenmagel.Info.getHostName()
ใช้อ่าน Host Name บนอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่ออยู่
-
Subscribes
magel.subscribes.([](){ Function Register Subscribe Here })
ใช้ Subscribe Topic หรือ Subscribe Function ที่อยู่ภายใน Function subscribes ให้อัตโนมัติเมื่ออุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อ Magellan Platform ได้
-
Interval
magel.interval(unsigned int second, []() { function here })
ใช้กำหนดช่วงเวลาให้ Function ที่ประกาศภายใน Interval ทำงานในแต่ละรอบโดยมีหน่วยเป็น Second
-
BuiltinSensor
magel.builtinSensor.readTemperature()
ใช้อ่านค่าอุณหภูมิจากเซนเซอร์magel.builtinSensor.readHumidity()
ใช้อ่านค่าความชื้นจากเซนเซอร์
-
GPS
magel.gps.avalible()
ใช้ตรวจสอบสถานะการจับสัญญาณ GNSS (จับสัญญาณได้/ไม่สามารถจับสัญญาณได้)magel.gps.readLattitude()
ใช้อ่านค่าละติจูดmagel.gps.readLongitude()
ใช้อ่านค่าลองจิจูดmagel.gps.readAltitude()
ใช้อ่านค่าความสูงmagel.gps.readSpeed()
ใช้อ่านค่าความเร็วmagel.gps.readCourse()
ใช้อ่านค่ามุมองศาของการเคลื่อนที่่magel.gps.readLocation()
ใช้อ่านค่าละติจูด และค่าลองจิจูดmagel.getUnixTime()
ใช้อ่านค่าเวลา Unix (Timestamp) จาก GPS
-
Sensor
magel.sensor.add(sensorKey, sensorValue)
ใช้เพิ่มข้อมูลเซนเซอร์ โดยเก็บไว้ที่ JSONBuffer ของ Sensormagel.sensor.update(sensorKey, sensorValue)
ใช้แก้ไขข้อมูลเซนเซอร์ตาม sensorKey และ sensorValue ที่กำหนดmagel.sensor.location.add(locationKey, latitude , longtitude)
ใช้เพิ่มข้อมูลเซนเซอร์ประเภท Location ซึ่งต้องกำหนด locationKey,latitude และ longtitudemagel.sensor.location.update(locationKey, latitude , longtitude)
ใช้แก้ไขข้อมูลเซนเซอร์ประเภท Location ตาม locationKey,latitude และ longtitude ที่กำหนดmagel.sensor.findKey(sensorKey)
ใช้ค้นหา sensorKey ใน JSONBuffer ที่เคยเพิ่มเข้าไป ต้องทำการกำหนด sensorKey ที่ต้องการค้นหาmagel.sensor.remove(sensorKey)
ใช้ลบข้อมูลของเซนเซอร์ออกจาก JSONBuffer ด้วย sensorKeymagel.sensor.toJSONString()
ใช้แปลงรูปแบบข้อมูล JSON ไปเป็นรูปแบบ JSONString จากข้อมูลเซนเซอร์ที่เก็บไว้ใน JSONBuffermagel.sensor.setJSONBufferSize(int)
ใช้กำหนดขนาดของ JSONBuffer ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ sensorKey และ sensorValue ซึ่งกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ที่ 1,024 ไบต์ สามารถกำหนดได้สูงสุดที่ 8,192 ไบต์magel.sensor.readJSONBufferSize()
ใช้อ่านขนาดของ JSONBuffermagel.sensor.report()
ใช้ในการส่งข้อมูลเซนเซอร์ทั้งหมดที่อยู่ใน JSONBuffer ไปยัง Magellan Platform และลบค่าเซนเซอร์ทั้งหมดที่อยู่ภายใน JSONBuffer ให้หลังจากส่งข้อมูลmagel.sensor.clear()
ใช้ลบค่าเซนเซอร์ทั้งหมดที่อยู่ภายใน JSONBuffer
-
Report
magel.subscribe.report.response()
ใช้ในการ Subscribe Response จากการส่งข้อมูลเซนเซอร์ในรูปแบบ JSONmagel.report.send(payload)
ใช้ส่งข้อมูลเซนเซอร์ในรูปแบบ JSONmagel.subscribe.report.response(PLAINTEXT)
ใช้ในการ Subscribe Response ของการส่งข้อมูลเซนเซอร์ในรูปแบบ Plain Textmagel.report.send(String key, String value)
ใช้ส่งค่าเซนเซอร์ในรูปแบบ Plain Textmagel.subscribe.reportWithTimestamp.response();
ใช้ในการ Subscribe Response การส่งข้อมูลเซนเซอร์ในรูปแบบ JSON พร้อมค่า Timestampmagel.report.send(Int UNIXtimestamp, String payload);
ใช้ส่งข้อมูลเซนเซอร์ในรูปแบบ JSON พร้อมค่า Timestamp ในรูปแบบ UNIXTS (UnixTimestamp) ไปยัง Magellan Platform
-
Control
magel.subscribe.control()
ใช้ในการ Subscribe เพื่อรอรับค่า Control ในรูปแบบ JSONmagel.control.request()
ใช้ในการร้องขอค่าของ Control ที่ยังไม่ได้ตอบว่ารับทราบการสั่งงาน (Acknowledge) มาทั้งหมดโดยจะได้รับ Response ในรูปแบบ JSON ซึ่งคำสั่งนี้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแบบ Realtimemagel.deserializeControl(payload)
ใช้ในการ Deserialize JSON ของค่า Control ออกมาmagel.control.ACK(String payload)
ใช้ส่งข้อมูลตอบกลับเพื่อรับทราบการสั่งงาน (Acknowledge) จากการ Control ผ่าน Widget บนหน้า Dashboard ของ Magellan Platform โดยจะส่งค่าไปในรูปแบบ JSONmagel.subscribe.control(PLAINTEXT)
ใช้ในการ Subscribe เพื่อรอรับค่า Control ในรูปแบบ Plain Textmagel.control.request(String controlKey)
ใช้ในการร้องขอค่าของ Control ที่ยังไม่ได้ตอบรับทราบการสั่งงาน (Acknowledge) โดยเฉพาะ controlKey ที่ต้องการอยากจะทราบ โดยที่อุปกรณ์จะได้รับ Response ในรูปแบบ Plain Text ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแบบ Realtimemagel.control.ACK(String controlKey, String controlValue)
ใช้ในการส่งข้อมูลตอบกลับเพื่อรับทราบการสั่งงาน (Acknowledge) จากการ Control ผ่าน Widget บนหน้า Dashboard ของ Magellan Platform โดยจะส่งค่าไปในรูปแบบ Plaint Text- เมื่ออุปกรณ์ได้รับการ Control แล้ว แต่ไม่ตอบกลับเพื่อรับทราบการสั่งงาน (Acknowledge) ไปยัง Magellan Platform ดังนั้นทุกครั้งที่อุปกรณ์ทำการส่งข้อมูลมายัง Magellan Platform จะทำให้อุปกรณ์ยังคงได้รับค่า Control (Spam) นั้น ๆ ทุกครั้งเสมอ จนกว่าอุปกรณ์จะตอบกลับเพื่อรับทราบการสั่งงาน
-
ClientConfig
magel.clientConfig.add(ClientConfigKey, ClientConfigValue)
ใช้เพิ่มข้อมูล ClientConfig ลงใน JSONBuffer ของ ClientConfigmagel.clientConfig.update(ClientConfigKey, ClientConfigValue)
ใช้แก้ไขค่า ClientConfig ที่มีการเพิ่มไว้แล้วภายใน JSONBuffermagel.clientConfig.findKey(ClientConfigKey)
ใช้ในการค้นหา ClientConfigKey ใน JSONBuffer ของ ClientConfig ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องกำหนด ClientConfigKey ที่ต้องการค้นหา โดยจะได้รับผลลัพธ์ในรูปแบบ Boolean หากพบ ClientConfigKey จะได้รับผลลัพธ์เป็น true หากไม่จะได้รับผลลัพธ์เป็น falsemagel.clientConfig.remove(ClientConfigKey)
ใช้ในการลบข้อมูลของ ClientConfig ออกจาก JSONBuffer ของ ClientConfig ด้วย ClientConfigKeymagel.clientConfig.toJSONString()
ใช้สร้าง JSON String จากข้อมูล ClientConfig ที่ได้ทำการเพิ่มเข้าไปใน JSONBuffer ของ ClientConfig ซึ่งมีขนาดให้ใช้งานจำนวน 512 ไบต์magel.clientConfig.save()
ใช้ส่งข้อมูล ClientConfig บันทึกไปยัง Magellan Platform จาก clientConfigKey และ clientConfigValue ที่ได้ทำการเพิ่มเข้าไปใน JSONBuffermagel.clientConfig.save(payload)
ใช้ส่งข้อมูล ClientConfig บันทึกไปยัง Magellan Platform จากข้อมูลในรูปแบบ JSONmagel.clientConfig.clear()
ใช้ลบค่า ClientConfig ใน JSONBuffer ของ ClientConfig ทั้งหมด
-
ServerConfig
magel.subscribe.serverConfig()
ใช้ในการ Subscribe รับข้อมูลการตั้งค่าของอุปกรณ์ (serverConfig) ในรูปแบบ JSONmagel.serverConfig.request()
ใช้ในการร้องขอข้อมูลการตั้งค่าของอุปกรณ์รูปแบบ JSONmagel.subscribe.serverConfig(PLAINTEXT)
ใช้ในการ Subscribe รับข้อมูลการตั้งค่าของอุปกรณ์ในรูปแบบ Plain Textmagel.serverConfig.request(String serverConfigKey)
ใช้ในการร้องขอข้อมูลการตั้งค่าของอุปกรณ์ด้วย serverConfigKey ในรูปแบบ Plain Text
-
Heartbeat
magel.subscribe.heartbeat.response()
ใช้ในการ Subscribe Response เมื่อมีการส่ง Heartbeat ไปยัง Magellan Platform ในรูปแบบ JSONmagel.subscribe.heartbeat.response(PLAINTEXT)
ใช้ในการ Subscribe getServerTime รับค่า Timestamp เมื่ออุปกรณ์มีการร้องขอเวลาไปยัง Magellan Platfrom ในรูปแบบ JSONmagel.heartbeat(unsign int second)
ใช้ในการส่งสถานะของอุปกรณ์ไปยัง Magellan Platform ด้วยความถีเป็นวินาทีที่สม่ำเสมอ
-
GetServerTime
magel.getServerTime()
ใช้ในการร้องขอเวลา Timestamp (Unix) จาก Magellan Platformmagel.subscribe.getServerTime()
ใช้ในการ Subscribe getServerTime รับค่า Timestamp เมื่ออุปกรณ์มีการร้องขอเวลาไปยัง Magellan Platfrom ในรูปแบบ JSONmagel.subscribe.getServerTime(PLAINTEXT)
ใช้ในการ Subscribe getServerTime รับค่า Timestamp เมื่ออุปกรณ์มีการร้องขอเวลาไปยัง Magellan Platfrom ในรูปแบบ Plant Text
-
Callback
magel.getControl(callback void(String key, String value))
ใช้รับค่า Control เมื่อเกิด Control events จาก Widget บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลเป็น Key และ Value จากการ Control ในรูปแบบ Plain Textmagel.getControl(String focusKey, callback void(String payload))
ใช้รับค่า Control เมื่อเกิด Control events จาก Widget บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูล Value จากการ Control เฉพาะ focusKey ที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้เท่านั้น ในรูปแบบ Plain Textmagel.getControlJSON(callback void(String payload))
ใช้รับค่า Control เมื่อเกิด Control events จาก Widget บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลในรูปแบบ JSON Stringmagel.getControlJSON(callback void(JsonObject docJson))
ใช้รับค่า Control เมื่อเกิด Control events จาก Widget บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลในรูปแบบ JSON Objectmagel.getServerConfig(callback void(String key, String value))
ใช้รับค่า Config เมื่อเกิด events จากเปลี่ยนแปลง Online Config บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลเป็น Key และ Value ในรูปแบบ Plain Textmagel.getServerConfig(String focusKey, callback void(String payload))
ใช้รับค่า Config เมื่อเกิด events จากเปลี่ยนแปลง Online Config บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูล Value เฉพาะ focusKey ที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้เท่านั้น ในรูปแบบ Plain Textmagel.getServerConfigJSON(callback void(String payload))
ใช้รับค่า Config เมื่อเกิด events จากเปลี่ยนแปลง Online Config บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลในรูปแบบ JSONStringmagel.getServerConfigJSON(callback void(JsonObject docJson))
ใช้รับค่า Config เมื่อเกิด events จากเปลี่ยนแปลง Online Config บนหน้าเว็บ Magellan Platform ซึ่งจะได้รับข้อมูลในรูปแบบ JSONObjectmagel.getResponse(enum eventResponse, [] (EVENTS event){})
ใช้รับข้อมูลของ Response เมื่อเกิด events ต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนด enum eventResponse จาก event ที่ต้องการจะแสดงค่าลงไปใน function callback getResponse ได้ดังนี้
[ Suggest for use in callback getResponse ]
eventResponse enum UNIXTIME 6 RESP_REPORT_JSON 8 RESP_REPORT_PLAINTEXT 9 RESP_REPORT_TIMESTAMP 10 RESP_REPORT_JSON 11 RESP_REPORT_PLAINTEXT 12 [ Inside data type struct EVENTS ]
Available function Results event.Key Type Plaintext event.Payload Type JSON or Plaintext event.RESP String message response “SUCCESS” or “FAIL” event.CODE success code such as 20000 or 40400 etc -
Setting (Global Variables)
setting.ThingIdentifier
ใช้เป็นตัวแปรสำหรับกำหนดค่า ThingIdentifier หรือ ICCID ของอุปกรณ์setting.ThingSecret
ใช้เป็นตัวแปรสำหรับกำหนดค่า ThingSecret หรือ IMSI ของอุปกรณ์setting.endpoint
ใช้เป็นตัวแปรสำหรับกำหนดค่า IP หรือ URL Path ปลายทางที่ต้องการให้อุปกรณ์เชื่อมต่อsetting.clientBufferSize
ใช้เป็นตัวแปรสำหรับกำหนดค่า clientBufferSize ของอุปกรณ์ โดยสามารถกำหนดขนาดตามที่ต้องการหรือใช้ค่าตัวแปร Default ที่กำหนดให้ โดยมีดังนี้
[ ตารางแสดงค่าตัวแปร Default Setting clientBufferSize ]
ตัวแปร Default value การเรียกใช้ตัวแปร defaultbuffer 1,024 bytes setting.clientBufferSize = defaultbuffer defaultOTAbuffer 8,192 bytes setting.clientBufferSize = defaultOTAbuffer -
OTA
magel.OTA.utility(). Properties Here;
เป็นคำสั่งที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าการ OTA เพื่อนำมาใช้เป็นเงื่อนไขหรือเปรียบเทียบ
[ ตารางแสดงข้อมูล Properties ของ Utility ]
Properties Data Type Default value Description isReadyOTA boolean false สถานะข้อมูลการ OTA ของอุปกรณ์ โดย
- true = มีข้อมูลให้ทำการ OTA
- false = ไม่มีข้อมูลให้ทำการ OTAfirmwareIsUpToDate int false สถานะของ Firmware บนอุปกรณ์ เมื่อเทียบกับข้อมูลการ OTA ของอุปกรณ์ที่ได้รับมาล่าสุด ได้แก่
1) UNKNOWN / (-1) = ไม่ทราบสถานะ
2) OUT_OF_DATE / (0) = ไม่เป็นปัจจุบัน
3) UP_TO_DATE / (1) = ปัจจุบันinProcessOTA boolean false สถานะของการดำเนินการ OTA โดย
- true = กำลังดำเนินการ OTA
- false = ไม่ได้กำลังดำเนินการ OTAfirmwareTotalSize unsigned int false ขนาดของ Firmware มีหน่วยเป็น Byte firmwareName String UNKNOWN ชื่อของ Firmware firmwareVersion String UNKNOWN Version ของ Firmware checksum String UNKNOWN ค่า checksum ใช้รับรองความถูกต้องของ Firmware checksumAlgorithm String UNKNOWN ประเภท Algorithm ของ Checksum magel.OTA.autoUpdate(boolean)
ใช้สำหรับเรียกใช้งานการทำ OTA โดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดได้ โดย true คือการกำหนดให้ทำ OTA โดยอัตโนมัติ และ false คือการกำหนดให้ทำ OTA ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดmagel.OTA.executeUpdate()
ใช้สำหรับเรียกใช้งานการทำ OTA แบบ Manualmagel.OTA.getAutoUpdate()
ใช้สำหรับอ่านสถานะการตั้งค่าในการทำ OTAmagel.OTA.checkUpdate()
ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลการ OTA จาก Magellan Platform กับ Firmware ปัจจุบันของอุปกรณ์magel.OTA.magel.OTA.readDeviceInfo()
ใช้สำหรับอ่านข้อมูล Firmware ปัจจุบันของอุปกรณ์
ข้อมูลเพิ่มเติมที่จะช่วยให้เริ่มต้นใช้งาน AIS IoT 4G board ได้ง่ายขึ้น
ไลบรารีนี้พัฒนาขึ้นโดยยึดมาตรฐานชื่อคำสั่งที่ Arduino กำหนดไว้ ให้ใช้เอกสารบนเว็บ Arduino ในการอ้างอิงได้เลย
โค้ดโปรแกรมตัวอย่างอยู่ในโฟลเดอร์ examples
แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้
GPS
Storage
- File_Read_Write - อ่าน-เขียนไฟล์บน SIM7600
GSM
- Read_IMEI - อ่านหมายเลข IMEI แสดงผลบน Serial Monitor
- Read_IMSI - อ่านหมายเลข IMSI แสดงผลบน Serial Monitor
- Read_ICCID - อ่านหมายเลข ICCID ของ eSIM แสดงผลบน Serial Monitor
- LowPowerMode - ตัวอย่างการสั่งให้ SIM7600 เข้าโหมดประหยัดพลังงาน
- digitalWrite_Sx_pin สั่งให้สถานะลอจิกขา S3 เป็น HIGH/LOW ทุก ๆ 500 วินาที (โปรแกรมไฟกระพริบ)
- digitalRead_Sx_pin อ่านสถานะลอจิกขา S77 แสดงผลบน Serial Monitor
Network
- Ping - Ping เว็บ www.ais.co.th
- Read_Device_IP - อ่านหมายเลข IP แสดงผลบน Serial Monitor
- Read_Operator_Name - อ่านชื่อเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่
- Read_Signal_Strength - อ่านความแรงสัญญาณ 4G
TCP
- GSMClient - ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน TCP
- GSMClientSecure - ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน TCP/TLS
UDP
- GSMUdpNtpClient - อ่านค่าเวลาจากอินเตอร์เน็ตด้วยโปรโตคอล NTP
MQTT
- ตัวอย่างในโฟลเดอร์นี้ดัดแปลงมาจาก PubSubClient ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในลิ้งต้นฉบับ- mqtt_basic - ตัวอย่างการเชื่อมต่อ MQTT อย่างง่าย ส่งข้อมูลเข้า Topic
outTopic
และ Subscribe TopicinTopic
- mqtt_auth - ตัวอย่างการเชื่อมต่อ MQTT แบบต้องใช้ Username และ Password
- mqtt_publish_in_callback - ตัวอย่างการส่งข้อมูลเข้า Topic
outTopic
ในฟังก์ชั่น Callback
- mqtt_basic - ตัวอย่างการเชื่อมต่อ MQTT อย่างง่าย ส่งข้อมูลเข้า Topic
Sensor
- SHT40_Read - อ่านอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์บนบอร์ด แสดงผลบน Serial Monitor
OTA
- OTA_via_HTTP_over_4G - อัพเดทเฟิร์มแวร์ผ่าน HTTP ด้วยเครือข่าย 4G (โค้ดโปรแกรมส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากตัวอย่าง AWS_S3_OTA_Update)
RS485
- RS485_Slave_Echo - ตัวอย่างการรับข้อมูลจาก RS485 Master แล้วตอบข้อมูลได้ที่รับมากลับไป
- SDM120CT_Read - ตัวอย่างการอ่านค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า จาก Power Meter รุ่น SDM120CT ด้วย RS485 ผ่านโปรโตคอล MODBUS RTU
- XY_MD02_Read - ตัวอย่างการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์รุ่น XY-MD02 ด้วย RS485 ผ่านโปรโตคอล MODBUS RTU
- PZEM_016_Read - ตัวอย่างการอ่านค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า จาก Power Meter รุ่น PZEM-016
- PZEM_016_to_IoT_Central - ตัวอย่างการอ่านค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า จาก Power Meter รุ่น PZEM-016 ส่งค่าขึ้น Azure IoT Central
HTTP
ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน HTTP จำเป็นต้องติดตั้งไลบรารี ArduinoHttpClient เพิ่มเติม- HTTP_SimpleGet - ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน HTTP ด้วย Method GET
- HTTPS_SimpleGet - ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน HTTPS ด้วย Method POST
- HTTPS_SimplePost - ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน HTTPS ด้วย Method POST
Azure IoT
4G
- IoT_Hub_sample - ตัวอย่างการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นส่งค่าขึ้น Azure IoT Hub ผ่าน 4G (SIM7600)
- IoT_Central_sample - ตัวอย่างการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นส่งค่าขึ้น Azure IoT Central ผ่าน 4G (SIM7600)
WiFi
- IoT_Hub_sample - ตัวอย่างการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นส่งค่าขึ้น Azure IoT Hub ผ่าน WiFi (ESP32)
- IoT_Central_sample - ตัวอย่างการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นส่งค่าขึ้น Azure IoT Central ผ่าน WiFi (ESP32)
Magellan Platform
getServerConfig
- getServerConfigJSON - ตัวอย่างการแสดงค่าที่อุปกรณ์ไปเรียกค่าที่เราทำการ Config ไว้บน Magellan Platform ในรูปแบบ JSON ผ่าน 4G (SIM7600)
- getServerConfigPlaintext - ตัวอย่างการแสดงค่าที่อุปกรณ์ไปเรียกค่าที่เราทำการ Config ไว้บน Magellan Platform ในรูปแบบ Plain Text ผ่าน 4G (SIM7600)
getControl
- getControlJSON - ตัวอย่างการแสดงค่าที่ตัวอุปกรณ์ทำการ Control บน Dashboard ของ Magellan Platform ในรูปแบบ JSON ผ่าน 4G (SIM7600)
- getControlPlaintext - ตัวอย่างการแสดงค่าที่ตัวอุปกรณ์ทำการ Control บน Dashboard ของ Magellan Platform ในรูปแบบ Plain Text ผ่าน 4G (SIM7600)
getControlLED
- getControlJSON_LED - ตัวอย่างการแสดงค่าที่ตัวอุปกรณ์ทำการ Control LED บน Dashboard ของ Magellan Platform ในรูปแบบ JSON ผ่าน 4G (SIM7600)
- getControlPlaintext_LED - ตัวอย่างแสดงค่าที่ตัวอุปกรณ์ทำการ Control LED บน Dashboard ของ Magellan Platform ในรูปแบบ Plain Text ผ่าน 4G (SIM7600)
heartbeat
- heartbeat - ตัวอย่างการส่งสัญญาณไปยัง Server รูปแบบ Heartbeat เพื่อบอกให้ Magellan Platform ทราบว่าอุปกรณ์ดังกล่าว มีการเชื่อมต่ออยู่ผ่าน 4G (SIM7600)
reportData
- reportDataJSON - ตัวอย่างการส่งค่าตัวเลขแบบสุ่มขึ้นไปยัง Magellan Platform ในรูปแบบ JSON ผ่าน 4G (SIM7600)
- reportDataPlaintext - ตัวอย่างการส่งค่าตัวเลขแบบสุ่มขึ้นไปยัง Magellan Platform ในรูปแบบ Plain Text ผ่าน 4G (SIM7600)
reportMultiDataType
- reportMultiDataType - ตัวอย่างการส่งข้อมูลในรูปแบบหลายประเภท ได้แก่ เลขจำนวนเต็มบวก, เลขจำนวนเต็มลบ, ทศนิยม, ข้อความ, พิกัด GPS และ Boolean Magellan Platform ผ่าน 4G (SIM7600)
reportSensor
- reportSensorJSON - ตัวอย่างการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์บนอุปกรณ์ไปบน Magellan Platform ในรูปแบบ JSON ผ่าน 4G (SIM7600)
- reportSensorPlaintext - ตัวอย่างการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์บนอุปกรณ์ไปบน Magellan Platform ในรูปแบบ Plain Text ผ่าน 4G (SIM7600)
reportUserButton
- reportUserButton - ตัวอย่างการใช้งานปุ่มกด (User Button) บนอุปกรณ์ โดยจะมีการทำงานร่วมกับ Magellan Platform ในส่วนของ Dashboard ผ่าน 4G (SIM7600)
reportWithTimestamp
- reportWithTimestamp - ตัวอย่างการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์พร้อม Timestamp บนอุปกรณไปบน Magellan Platform ผ่าน 4G (SIM7600)
saveClientConfig
- saveClientConfig - ตัวอย่างการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์พร้อม Timestamp บนอุปกรณไปบน Magellan Platform ผ่าน 4G (SIM7600)
getServerTime
- getServerTime - ตัวอย่างการขอเวลา Timestamp จาก Server ของ Magellan Platform ผ่าน 4G (SIM7600)
gpsTime_Location
- gpsTime_Location - ตัวอย่างการขอเวลา Timestamp จาก Location ใน GPS มาใช้งาน ผ่าน 4G (SIM7600)
RS485_PZEM_016_reportDataTo_Magellan
- RS485_PZEM_016_reportDataTo_Magellan - ตัวอย่างการอ่านเซนเซอร์ RS485 แล้วส่งค่าขึ้นไปบน Magellan Platform ผ่าน 4G (SIM7600)
WiFi
- ConnectWithESP32wifi - ตัวอย่างการส่งค่าขึ้น Magellan Platform ผ่าน WiFi (ESP32)
OTA
- autoUpdate - ตัวอย่างการกำหนดให้อุปกรณ์ทำการอัพเดท Firmware อัตโนมัติ
- manualUpdate - ตัวอย่างการกำหนดให้อุปกรณ์ทำการอัพเดท Firmware ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดเอง
- utilityInformation - ตัวอย่างการอ่านค่าข้อมูลการ OTA
- ArduinoHttpClient - ไลบรารีเชื่อมต่อ HTTP/HTTPS